article
เศรษฐกิจพอเพียงในทัศนะโลก
ภาวะเศรษฐกิจโลกในปัจจุบันได้เข้าสู่ภาวะวิกฤตที่มีความรุนแรงมากที่สุดในรอบศตวรรษ เริ่มต้นจากวิกฤตการณ์สถาบันการเงินในประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งได้ส่งผลเชื่อมโยงถึงระบบการเงินของประเทศต่างๆ ทั่วโลก ความเสียหายต่อระบบการเงินอย่างรุนแรงได้ส่งผลให้เศรษฐกิจของประเทศพัฒนาแล้ว เช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และอีกหลายประเทศในยุโรป เข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย ขณะที่เศรษฐกิจไทยก็ได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในเวลานี้ ทำให้ต้องหันกลับมาพิจารณาทบทวนกันใหม่ทั้งในประเด็นการลงทุนใช้จ่ายเกินตัวของภาคประชาชน ที่ก่อให้เกิดหนี้สินที่ไม่สามารถชำระคืนได้ ประเด็นความละโมบของภาคธุรกิจที่ต้องการตัวเลขรายได้อย่างไม่พอประมาณและไม่สมเหตุสมผล ก่อให้เกิดการล่มสลายของกิจการ และประเด็นความหละหลวมในการกำกับดูแลของภาครัฐ ซึ่งเป็นต้นเหตุให้ภูมิคุ้มกันในระบบเศรษฐกิจอ่อนแอ เกิดความเสียหายที่มีมูลค่าจำนวนมากมายมหาศาล ประเด็นที่กล่าวมาข้างต้น มีความเกี่ยวเนื่องกับหลักความพอประมาณ ความมีเหตุมีผล และการสร้างภูมิคุ้มกันที่ดี ซึ่งก็ไม่พ้นที่จะต้องกล่าวถึงปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกันอีกคราวหนึ่ง แต่ในครั้งนี้ จะเป็นการกล่าวถึงเศรษฐกิจพอเพียง จากปากของนักคิด นักวิชาการ และบุคคลที่มีชื่อเสียงชาวต่างประเทศ จำนวน 13 ท่าน ที่ได้แสดงทัศนะเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงที่มีต่อการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยเทียบเคียงกับแนวคิดและมุมมองสากล นำมารวบรวมเป็นหนังสือ“เศรษฐกิจพอเพียงในทัศนะโลก” (Sufficiency Economy in Global View) นี้ เนื้อหาที่ประมวลจากผู้ทรงคุณวุฒิทั้ง 13 ท่านนี้ เป็นผลพวงจากการดำเนินโครงการจัดทำแผนที่เดินทาง (Road Map) และการสร้างเครือข่ายเศรษฐกิจพอเพียงระหว่างประเทศ โดยสถาบันการจัดการเพื่อชนบทและสังคม และสถาบันไทยพัฒน์ มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) นำมาเรียบเรียงเป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ จำนวนอย่างละ Cr: http://www.manpattanalibrary.com/newsdetail.php?id=52 |
รายงานอนาคตของเรา (Our Common Future)
โครงการศึกษาวิจัยเรื่องน้ำ โดย ดร.รอยล จิตรดอน
ย้อนไปในปี 2554 ประเทศไทยประสบปัญหาอุทกภัยครั้งใหญ่ที่สร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจและส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนอย่างมหาศาล แต่แทบไม่น่าเชื่อว่าระยะเวลาผ่านมาเพียงไม่กี่ปีคือในปี 2557-2558 ประเทศไทยก็ประสบปัญหาเรื่องน้ำอีกระลอก ทว่าครั้งนี้เป็นปัญหาภัยแล้งที่ส่งผลกระทบอย่างกว้างขวาง ทั้งต่อพื้นที่เกษตรกรรมและต่อการอุปโภคบริโภคจากเหตุการณ์นี้ถือว่าเป็นบทเรียนสำคัญของระบบและแนวทางการบริหารจัดการน้ำของประเทศไทยที่ต้องสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางดินฟ้าอากาศสภาพพื้นที่ และความต้องการของชุมชน โครงการศึกษาวิจัยเรื่องน้ำ โดย ดร.รอยล จิตดอน ผู้อำนวยการสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน)ได้ทำการศึกษาวิจัยเรื่องการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อสร้างความพอเพียงทางทรัพยากรให้แก่ประชาชนอันจะนำไปสู่ความเข้มแข็งที่ประชาชนสามารถเติบโตก้าวหน้าด้วยการพึ่งตนเองตามหลักการของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโดยยึดหลักสำคัญคือการแก้ปัญหาน้ำท่วมและน้ำแล้งควบคู่กันด้วยการพัฒนาพื้นที่ในเขตชลประทานให้เกิดความมั่นคงด้านน้ำและพัฒนาโครงสร้างขนาดเล็กและการจัดการน้ำของชุมชนในพื้นที่นอกเขตชลประทานโดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือการเพิ่มขีดความสามารถในการบริหารจัดการน้ำการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรน้ำและสิ่งแวดล้อม การส่งเสริมการจัดการทรัพยากรน้ำชุมชนด้วยยุทธศาสตร์และมาตรการที่หลากหลายเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ขณะเดียวกันในพื้นที่ที่เอื้ออำนวยก็สามารถบูรณาการการพัฒนาทั้งด้านน้ำเกษตรและพลังงานร่วมกันไปอย่างเป็นระบบและที่สำคัญคือการดำเนินงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานชุมชนและเครือข่ายท้องถิ่นทำให้โครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคมเกิดความสมดุลและนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนในอนาคต จากการศึกษาของโครงการฯ พบว่าประเทศไทยควรจะนำแหล่งน้ำขนาดเล็กหรือแก้มลิงที่ตื้นเขิน มาพัฒนาเป็นแหล่งน้ำใหม่ของทั้งประเทศรวมถึงการเพิ่มจำนวนแหล่งน้ำในไร่นา ซึ่งใช้เวลาและงบประมาณน้อยกว่าการสร้างแหล่งเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้งนี้ การจัดการน้ำควรเน้นให้ชุมชนเป็นผู้บริหารจัดการและดูแลกันเอง โดยที่ผ่านมาได้ทำโครงการร่วมกับเกษตรกรให้มีแหล่งน้ำของตนเองและประสบความสำเร็จในการจัดการน้ำท่วมน้ำแล้งในพื้นที่ของตัวเองได้แล้ว341 ชุมชนทั่วประเทศ ในจำนวนนี้มีชุมชนตัวอย่างด้านการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืนที่เป็นต้นแบบให้แก่ชุมชนอื่นๆ ทั่วประเทศที่โดดเด่นกระทั่งได้รับรางวัลชนะเลิศถ้วยพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการจัดการทรัพยากรน้ำชุมชน ตามแนวพระราชดำริ ประจำปี 2554 และ 2557 คือชุมชนบ้านลิ่มทอง อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์ ที่ชาวบ้านกว่า 6,000 คนรวมตัวกันเป็น “เครือข่ายการจัดการน้ำชุมชนลิ่มทอง” ที่ยอมสละที่ดินส่วนตัวเพื่อทำแก้มลิงของชุมชนทั้งน้อมนำแนวพระราชดำริการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน และยึดถือพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ว่า “น้ำคือชีวิต” มาใช้ จนสามารถเก็บกักน้ำจากการทำแก้มลิงและคลองส่งน้ำไว้ใช้เพื่อการอุปโภคบริโภคและการเกษตรตลอดปียังประโยชน์ให้กับชาวบ้านกว่า 2,200 ครัวเรือน ครอบคลุมพื้นที่เกษตรกว่า 52,000 ไร่
Cr : http://www.manpattanalibrary.com/newsdetail.php?id=51 |
เครือข่ายการจัดการน้ำชุมชน ตามแนวพระราชดำริ
“...การจัดการน้ำชุมชนนั้น เห็นความสำเร็จในบางชุมชนแล้ว ให้ชุมชนชาวบ้านที่มีความรู้ ประสบความสำเร็จ มีประสบการณ์จัดการ และพัฒนาน้ำในพื้นที่มาช่วยขยายผลไปยังชุมชนอื่น...” พระราชดำรัส เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2554 ชั้น 14 อาคารเฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลศริริาช จากข้อมูลในปี 2557 ของกรมชลประทาน* พบว่าประเทศไทยมีพื้นที่เกษตรกรรมประมาณ 131 ล้านไร่ ในจำนวนนี้อยู่ในเขตชลประทานเพียง 29 ล้านไร่ หรือราวร้อยละ 20 เท่านั้น ที่เหลืออีกประมาณ 102 ล้านไร่ หรือประมาณร้อยละ 80 อยู่นอกเขตชลประทานที่ต้องอาศัยน้ำตามฤดูกาลและการบริหารจัดการน้ำของแต่ละชุมชนเพื่อให้เพียงพอต่อการเกษตรและการอุปโภคบริโภค ทว่าสถานการณ์เช่นนี้ไม่เคยอยู่พ้นสายพระเนตรอันยาวไกลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงเปี่ยมไปด้วยพระปรีชาสามารถในการแก้ไขปัญหา โดยทรงมองปัญหาในภาพรวมก่อน แล้วค่อยแก้ปัญหาจากจุดเล็กๆ คือการแก้ไขปัญหาเชิงพื้นที่ให้ตรงสาเหตุ ซึ่งเป็นที่มาของแนวพระราชดำริการบริหารจัดการน้ำชุมชนโดยให้ชุมชนเป็นเจ้าของ บริหารจัดการ ดำเนินงานตามทฤษฎีใหม่ มีกองทุนบำรุงรักษาและขยายผล ที่สำคัญคือมีการถ่ายทอดความสำเร็จสู่ชุมชนอื่นให้เกิดเป็นเครือข่ายการจัดการน้ำชุมชนได้ในที่สุด เพื่อสนองแนวพระราชดำริดังกล่าว สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน) ได้ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน จัดประกวดชุมชนเครือข่ายการจัดการทรัพยากรน้ำชุมชน ตามแนวพระราชดำริเพื่อสนับสนุนให้ชุมชนในพื้นที่ต่างๆ ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศมีการจัดการทรัพยากรน้ำที่มีประสิทธิภาพและประสานความร่วมมือเป็นเครือข่ายการจัดการทรัพยากรน้ำในระดับชุมชนได้ โดยแบ่งชุมชนที่เข้าประกวดออกเป็น 2 ประเภท คือ ชุมชนแม่ข่าย คือชุมชนที่เป็นตัวอย่างความสำเร็จในการจัดการทรัพยากรน้ำมาเป็นแม่ข่ายในการขยายผล โดยสนับสนุนให้ชุมชนมีระบบการจัดการทรัพยากรน้ำที่ดีและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพื่อพัฒนาเป็นแม่ข่าย ขยายผลแนวทางการจัดการทรัพยากรน้ำไปสู่ชุมชนอื่นๆ มุ่งเน้นการพัฒนาในพื้นที่เสี่ยงภัยด้วยการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และระบบสารสนเทศ ในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ รายได้ และผลผลิตของชุมชน เพื่อให้เกิดเครือข่ายการจัดการทรัพยากรน้ำที่ให้ชุมชนร่วมแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ เกิดเครือข่ายความคิดและการทำงานที่ชุมชนมีบทบาทร่วมในการพัฒนาศักยภาพซึ่งกันและกัน ชุมชนเครือข่าย คือชุมชนที่พัฒนาให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมและแนวคิดเชิงปฏิบัติ ด้านการจัดการทรัพยากรน้ำของชุมชนตนเอง สามารถประยุกต์ใช้ชุดข้อมูลและความรู้เรื่องการบริหารจัดการน้ำ ได้อย่างเหมาะสมกับภูมิสังคม เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และขยายผลการทำงานเป็นเครือข่ายการจัดการน้ำชุมชนอย่างเป็นระบบ เชื่อมโยงและประสานความร่วมมือระหว่างชุมชนเครือข่าย เพื่อให้เกิดการขยายผลแนวคิดและตัวอย่างความสำเร็จ เรื่องการจัดการทรัพยากรน้ำชุมชนไปสู่ภาคสังคมอย่างเป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง ที่ผ่านมามีชุมชนที่ประสบความสำเร็จในการบริหารจัดการน้ำภายในชุมชนตนเองและสามารถเป็นต้นแบบให้แก่ชุมชนอื่นๆ ได้ เช่น - เครือข่ายลุ่มน้ำแม่ละอุป ต.แจ่มหลวง อ.กัลยาณิวัฒนา จ.เชียงใหม่ ใช้แผนที่วางแผนจัดการน้ำและใช้ประโยชน์ที่ดิน ประกอบด้วย เส้นทางน้ำ แผนที่ฝาย แนวเขตที่ทำกิน และแนวเขตป่าชุมชน - ชุมชนบ้านผาชัน ต.สำโรง อ.โพธิ์ไทร จ.อุบลราชธานี ร่วมกันสร้างฝายวังอีแร้ง 2 เสริมบริเวณป่าต้นน้ำ - ชุมชนบ้านหนองปิ้งไก่ ต.นาบ่อคา อ.เมือง จ.กำแพงเพชร ร่วมกันปรับปรุงท่อน้ำชนิดท่อลอดเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการส่งและระบายน้ำ - ชุมชนป่าภูถ้ำ ภูกระแต ต.แวงน้อย อ.แวงน้อย จ.ขอนแก่น ร่วมกันสำรวจ เก็บข้อมูล ทำผังน้ำเพื่อสร้างความ “เข้าใจ” ในพื้นที่ของตนเอง จากผลสัมฤทธิ์ของการจัดการทรัพยากรน้ำของชุมชน ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะนำสู่ความเข้มแข็งและความมั่นคงในการจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศซึ่งมีชุมชนมากกว่า 6 หมื่นชุมชนให้สามารถพึ่งพาตนเองด้านทรัพยากรน้ำ รวมถึงเชื่อมโยงแนวทางการบริหารจัดการน้ำไปสู่ชุมชนอื่นๆ จนเกิดเป็นเครือข่ายการทำงานที่มีกระบวนการคิด ไตร่ตรอง ตัดสินใจ และลงมือทำร่วมกัน ภายใต้การบริหารจัดการของชุมชนและเพื่อนบ้าน รวมทั้งประสานการพัฒนากับหน่วยงานต่างๆ ที่รับผิดชอบทั้งในระดับชุมชนและระดับประเทศ เพื่อนำไปสู่แนวทางการพัฒนาการจัดการน้ำอย่างยั่งยืนได้ในที่สุด หมายเหตุ : นายเลิศวิโรจน์ โกวัฒนะ อธิบดีกรมชลประทานให้สัมภาษณ์ในโอกาสครบรอบ 112 ปี กรมชลประทาน วันที่ 12 มิถุนายน 2557 ณ กรมชลประทาน
Cr : http://www.manpattanalibrary.com/newsdetail.php?id=49 |